วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม

กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
 กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมมีใจความว่า   "ถ้าไม่มีแรงภายนอกกระทำต่อระบบแล้วโมเมนตัมของระบบจะมีค่าคงตัว"
   ในกรณีวัตถุสองก้อนขึ้นไปเคลื่อนที่มาชนกัน หรือเคลื่อนที่แยกจากกัน กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมก็ยังคงเป็นจริงเสมอ อาจเขียนเป็นลักษณะสมการได้ว่า  ผลรวมโมเมนตัมของวัตถุก่อนชนเท่ากับผลรวมโมเมนตัมของวัตถุหลังชน
กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สามของนิวตัน 
กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สามของนิวตันมีใจความสำคัญดังนี้ "ทุกแรงกิริยา(action) ย่อมมีแรงปฏิกิริยา(reaction)ขนาดเท่ากันโต้ตอบในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ"
                 ถ้า  แทน แรงที่ A  กระทำต่อ B
                        แทน แรงที่  B  กระทำต่อ A
และถ้าเรียก   ว่าแรงกิริยา      ก็คือ แรงปฏิกิริยา  หรือโดยนัยกลับกัน  เขียนสมการได้ว่า

  =  -
การใช้กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สามของนิวตันพิสูจน์กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
    ให้วัตถุ A มีมวล  เคลื่อนที่เข้าชนวัตถุ B ซึ่งมีมวล
    ก่อนการชน     ให้วัตถุ A เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว
                        วัตถุ B เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว  
    ภายหลังการชน   วัตถุ A เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว
                          วัตถุ B เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว









 ขณะที่วัตถุ A ชนกับวัตถุ B จะมีแรงกิริยาและปฏิกิริยาเกิดขึ้นตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สามของนิวตัน
        ให้     แทนแรงที่วัตถุ A  กระทำต่อวัตถุ B
                 แทน  แรงที่วัตถุ B กระทำต่อวัตถุ A
                   แทน ช่วงเวลาที่วัตถุ A  ชนกับวัตถุวัตถุ B
      จะได้                            =  -
      หรือ                     .  =  - . 
       .  คือการดลที่เกิดขึ้นกับวัตถุ
       .  คือการดลที่เกิดขึ้นกับวัตถุ
จากสมการการดล       .    =   m   -  m
จะได้ว่า                .   =     -  
                         .   =     -  
ดังนั้นจะได้ว่า
      -    =  -[   -  ]
                                        =  -    +  
หรือ    +     =    +  
หรือ     +   =     +  
   นั่นคือผลรวมของโมเมนตัมก่อนชนของระบบเท่ากับผลรวมของโมเมนตัมหลังชนของระบบ
   จากการใช้กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สามของนิวตันพิจารณาผลรวมโมเมนตัมก่อนการชนและภายหลังการชน  จะเห็นว่าข้อสรุปเกี่ยวกับกฎการอนุรักษ์โมเมนตัมที่ได้จะต้องไม่พิจารนณาแรงลัพธ์ภายนอกที่มากระทำต่อระบบ
   กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมสามารถนำไปอธิบายเหตุการณ์บางอย่างได้ เช่น การยิงปืน ก่อนยิงโมเมนตัมของปืนและลูกกระสุนปืนเท่ากับศูนย์  ขณะยิง ลูกกระสุนปืนจะเคลื่อนที่ออกจากลำกล้องปืน  โมเมนตัมของลูกกระสุนจึงมีทิศออกจากลำกล้องปืน  ดังนั้นตัวปืนจึงเคลื่อนที่เข้าหาผู้ยิงด้วยขนาดโมเมนตัมเท่ากับขนาดโมเมนตัมของลูกกระสุน
   ข้อควรจำ  เนื่องจากโมเมนตัมเป็นปริมาณเวกเตอร์ ในการรวมโมเมนตัมจึงต้องรวมแบบเวกเตอร์เสมอ
   ในกรณีการชนแบบยืดหยุ่น  ผลรวมของพลังงานจลน์ก่อนชนเท่ากับผลรวมของพลังงานจลน์หลังชน  ถ้าเป็นวัตถุสองก้อนชนกันจะสรุปสมการได้ดังนี้

   นักเรียนจะเห็นว่าสมการจากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม และจากกฎการอนุรักษ์พลังงาน  จะเกี่ยวข้องกับปริมาณสองปริมาณ คือ มวล กับ ความเร็ว  ดังนั้นจึงนำความรู้นี้ไปแก้สมการเพื่อหาปริมาณที่เกี่ยวข้องได้

อ้างอิง:::นายสมพงษ์  โพธิ์แก้ว>>> http://www.phutti.net/elearning/dang/lawmt.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น